2smetal

เทคนิคมือใหม่หัดเชื่อม เชื่อมมันส์ไม่มีสะดุด

การเชื่อมโลหะด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ต้องใช้วิธีการอาร์ก คือ ระหว่างปลายลวดเชื่อมกับชิ้นงานหลอมเป็นแนวเชื่อมอย่างต่อเนื่อง ช่างเชื่อมจะต้องมีทักษะการเริ่มต้นอาร์กในการปฏิบัติงาน การเริ่มต้นอาร์ก มี 2 วิธี คือ วิธีเคาะ  การถือลวดเชื่อมให้อยู่ในตําแหน่งตั้งฉากกับชิ้นงาน แล้วกดลวดเชื่อมลงไปเคาะ หรือแตะบนแผ่นเหล็กเบา ๆ แล้วรีบยกขึ้นโดยเร็วเมื่อเกิดการอาร์กให้ลวดเชื่อมเคลื่อนไปข้างหน้า ประมาณ 2-3 มม. ปฏิบัติตามลําดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง วิธีขีด  ถือลวดเชื่อมในลักษณะเอียงไปตามแนวที่จะเชื่อม ตวัดลวดเชื่อมให้ปลายแตะกับชิ้นงานแล้วยกขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการอาร์กแล้วต้องให้ระยะอาร์กถูกต้อง โดยลดระยะอาร์ก ลงอย่างช้า ๆ ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ลวดเชื่อม EVEREST @2Sonline

วิธีเลือกเลือดช่วงให้เหมาะสมกับชิ้นงาน

วิธีเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับชิ้นงาน

ลวดเชื่อม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานเชื่อม ซึ่งการเลือกลวดเชื่อมนั้น ต้องคำนึงพิจารณาถึงลักษณะงานที่จะจัดทำ และลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการ ดังนั้นการเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะกับการใช้งานและชิ้นงานมีความสำคัญมาก โดยวันนี้มีวิธีเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ให้คงทน แข็งแรง และปลอดภัย ง่ายๆ 3 วิธี ดังนี้ 1. เลือกลวดเชื่อมให้ตรงกับชนิดของเหล็ก และชนิดของชิ้นงาน : ก่อนการเลือกลวดเชื่อม สิ่งแรกที่ควรรู้ คือ สารประกอบของโลหะหรือชิ้นงาน เพราะหากคุณต้องการให้งานเชื่อมของคุณมีความแข็งแรงและทนทาน คุณต้องเลือกลวดเชื่อมกับชิ้นงานให้ตรงกัน หรือเลือกให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด 2. ตรวจสอบความหนาของชิ้นงาน เพื่อเลือกขนาดลวดเชื่อมให้เหมาะสม :  หากเหล็กหนาจำเป็นต้องใช้ลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูง ชนิดไฮโดรเจนต่ำ เพื่อกันไม่ให้งานเชื่อมแตกร้าว    3. ทำความสะอาดชิ้นงานก่อนเชื่อม เพื่อกำจัดสนิม และช่วยป้องกันการสึกกร่อน : อย่าลืมกำจัดเปลือกสนิมเหล็กสนิม ความชื้น สี และไขมันออกทุกครั้งก่อนลงมือปฎิบัติ เพราะการทำความสะอาดชิ้นงานจะช่วยป้องกันการสึกกร่อน และยังทำให้คุณทำงานเชื่อมได้ไวยิ่งขึ้น ☆☆☆☆☆ 5/5 สอบถามเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อสินค้าทาง inbox เพจ Facebook : ลวดเชื่อม Everest …

วิธีเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับชิ้นงาน Read More »

หน้าที่ของฟลักซ์ ลวดเชื่อม

ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือลวดเชื่อมที่ใช้สำหรับเติมลงในแนวเชื่อม ซึ่งจะผลิตออกมาเป็นเส้นลวดหรือมีทั้งลวดเปลือยและสารพอกหุ้ม หน้าที่ของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม (Flux Function) ฟลักซ์ที่หุ้มแกนลวดมีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพ และคุณภาพของเนื้อโลหะเชื่อม โดยสามารถสรุปหน้าที่ของฟลักซ์ได้ ดังนี้  – เป็นฉนวนไฟฟ้า ที่อาศัยเครื่องเชื่อมเป็นต้นกำลังในการผลิตกระแสเชื่อม โดยเครื่องเชื่อมนี้จะทำ หน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าจากสายเชื่อมแล้วไหลต่อไปยังลวดเชื่อมและชิ้นงานเพื่อให้เกิดการอาร์กขึ้นขณะเชื่อม  – ควบคุมการอาร์กให้สม่ำเสมอ เพื่อให้แนวเชื่อมเกิดคุณภาพและความคงที่ตลอดความยาวของแนวเชื่อม ดังนั้นการอาร์กและลำของการอาร์กไม่ควรเฉออกไปจากจุดศูนย์กลาง และอยู่ในแกนของลวดเชื่อม – เป็นแก๊สปกคลุมบริเวณอาร์ก เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยากับน้ำโลหะที่หยดจากปลายลวดเชื่อมและยังปกคลุมโลหะบ่อหลอมละลายแนวเชื่อมจนกลายเป็นของแข็ง แก๊สปกคลุมและไอระเหยที่เกิดจากฟลักซ์ยังมีผลต่อการอาร์ก สะเก็ดเชื่อม และการซึมลึกของแนวเชื่อมอีกด้วย – เป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อโลหะหลอมละลาย และให้โลหะเนื้อแนวเชื่อมเย็นตัวช้า เพื่อให้การอาร์กไม่เป็นรูและไม่ก่อให้เกิดสนิม ทําปฏิกิริยา 🛒 สอบถามเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อทาง inbox เพจ หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ Line : @2sonline Facebook : ลวดเชื่อม Everest www.2sonline.net

ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 (วันที่ 19 เมษายน 2566)

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 ของ บริษัท 2 เอส เมทัล จำกัด (มหาชน) ผ่านสื่อระบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงรูปแบบเดียว ผ่านไปด้วยดี บริษัทขอขอบคุณ ผู้ถือหุ้นทุกท่าน กรรมการบริษัทและผู้สอบบัญชี ที่เข้าร่วมประชุม

น่ารู้เรื่องมาตรฐาน MiT

ทุกคนน่าจะคุ้นเคยดีกับ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หรือมอก. แต่รู้หรือไม่ว่า ไทยยังมี MiT หรือ Made in Thailand ด้วย MiT คือ มาตรฐานสินค้าที่ผลิตในไทย ออกให้โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการตอนปลายปี 63 ซึ่งหนึ่งคุณสมบัติของสินค้าที่ได้รับการรับรอง MIT คือ สินค้าต้องมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศอย่างน้อย 40% โดยตัวเลขนี้มาจากการคำนวณตามหลักการ ASEAN Content และปรับให้เข้ากับบริบทของไทย มาตรฐาน MiT มีขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในประเทศ หันมาสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในไทยมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นจากผู้ใช้งานทั้งในประเทศและคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งตามกฎกระทรวงการคลังได้กำหนดให้งานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐต้องใช้สินค้าที่มี MiT รับรองไม่น้อยกว่า 60% ของสินค้าทั้งหมด ในส่วนของเหล็ก ก็ต้องเป็นเหล็กที่ MiT รับรองไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าหรือปริมาณเหล็กทั้งหมดที่ใช้ในงานครั้งนั้น ทั้งนี้ บริษัท 2 เอส เมทัล จำกัด (มหาชน) เองก็มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MiT เช่นกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแรงสนับสนุนอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทยให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ

ทำไมเหล็กถึงเรียกเป็นหน่วย “หุน”?

หน่วยที่ใช้เรียกเหล็ก มีหลากหลายมาก ๆ ทั้งนิ้วไว้เรียกขนาดหน้าตัด มิลลิเมตรเรียกความหนา และเมตรเรียกความยาว ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่หน่วยหุนนี่มันยังไงกันนะ? “หุน” ซึ่งนิยมใช้ในวงการช่างและผู้รับเหมา เป็นหน่วยวัดความยาวหรือความหนาของวัตถุต่าง ๆ มีที่มาจากชื่อมาตราชั่ง-ตวง-วัดของจีนคือ ชุ่น (寸) โดย 1 ชุ่นเท่ากับ 1.312 นิ้ว เท่ากับ 10 เฟิน (分) หมายความว่า 1 เฟินมีค่าราว 0.132 นิ้ว เฟินในภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ฮุ้ง” และคำว่าฮุ้งนี่เองที่เป็นที่มาของ “หุน” ในบ้านเรา ด้วยความที่จีนโพ้นทะเลในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋วทำให้การเรียกหน่วยฮุ้งค่อย ๆ แพร่หลายมากขึ้น จนเพี้ยนมาเป็นสำเนียงไทย ๆ ว่า หุน นั่นเอง ปัจจุบันมีการปรับมาตรฐานใหม่ สมัยนี้ 1 ฮุ้งหรือหุนจึงมีค่าเท่ากับ 1/8 หรือ 0.125 นิ้ว หรือ 1 นิ้วเท่ากับ 8 หุน เวลาจะแปลงหุนเป็นนิ้ว เราก็สามารถเอาตัวเลขในหน่วยนหุนมาคูณด้วย 1/8 หรือ 0.125 …

ทำไมเหล็กถึงเรียกเป็นหน่วย “หุน”? Read More »

เหล็กบีมทั้งสามต่างกันอย่างไร?

เหล็กบีมจัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ตามมอก.1227-2558 มีหน้าตาที่คล้ายกันมาก ๆ แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การใช้งานก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องพิจารณาดี ๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะได้รู้ว่าเหล็กตัวไหนให้เหมาะสมกับชนิดงานนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยค่ะ เอชบีม (H-beam) หน้าตัดเป็นรูปตัว H ปีกหนาสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติในการรับแรงและน้ำหนักได้มาก มีหลายขนาดขายในท้องตลาด ทำให้นำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น โครงสร้างบ้าน เสาคาน โครงถักหรือทรัส (truss) ไวด์แฟลงจ์ (Wide-flange) จริง ๆ ก็คือเอชบีม ส่วนไวด์แฟลงจ์เป็นชื่อเรียกตามมาตรฐาน ASTM ของสหรัฐอเมริกา ในมอก.ไทยก็มีระบุแค่เอชบีม แต่คนบางส่วนจะเข้าใจว่า ไวด์แฟลงจ์มีความกว้างของแผ่นตรงกลางมากกว่าปีกทั้งสองข้าง เหมือนตัว H ที่เส้นตรงกลางยาวกว่าปีก  ไอบีม (I-beam) หน้าตัดเป็นรูปตัว I ความกว้างและความสูงแต่ละด้านไม่เท่ากัน มีความลาดเอียงและเรียวมนที่ปลาย ตรงโคนปีกจะหนา  ใช้ในงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น รางเครนยกของในโรงงาน งานเครื่องจักร  หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเหล็กบีมและความแตกต่างระหว่าง H-beam, Wide-flange, I-beam ได้มากขึ้นนะคะ  …

เหล็กบีมทั้งสามต่างกันอย่างไร? Read More »

How to ชะลอเหล็กเกิดสนิม

ไม่อยากให้เหล็กขึ้นสนิมเร็ว ต้องทำอย่างไร? เนื่องจาก สนิม (rust) เกิดจากเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำ ดังนั้น วิธีป้องกันการเกิดสนิม ข้อสำคัญ คือ พยายามอย่าให้เนื้อเหล็กโดนอากาศหรือความชื้นโดยตรง แบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ 1) การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน:          มีทั้งแบบเหล็กกัลวาไนซ์ (สังกะสี) และเหล็ก MAZ (ส่วนผสมระหว่างสังกะสี อลูมิเนียม และแมกนีเซียม) วิธีนี้นิยมใช้กับพวกท่อเหล็กและท่อประปา ช่วยให้เหล็กมีความทนทานต่อสนิมและการกัดกร่อนได้ดี การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot dip galvanizing) 2) การเคลือบด้วยสารป้องกันสนิม:           เช่น สีรองพื้นกันสนิม สีอีพ็อกซี สังกะสี หรือน้ำมัน แล้วแต่ความเหมาะสมของประเภทงาน ใช้ได้กับเหล็กโครงสร้างทั่ว ๆ ไป ขัดสนิมออกด้วยกระดาษทราย ทาสีรองพื้นกันสนิม ช่วงไหนที่ฝนตก น้ำท่วม ถ้าเหล็กโดนแช่น้ำไปแล้วจะทำอย่างไรดี? …

How to ชะลอเหล็กเกิดสนิม Read More »

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 2

การเก็บภาษี AD ดีจริงหรือ? มุมมองที่แตกต่างระหว่างผู้ผลิตในไทยและผู้บริโภค ในตอนที่ 1 เราอธิบายกันไปแล้วนะคะว่า การทุ่มตลาดคืออะไร และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศอย่างไร แต่การเก็บภาษี AD นั้นดีจริงหรือ? เพราะฝั่งผู้ผลิตภายในประเทศไทยกับฝั่งผู้นำเข้า-ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน ฝ่ายผู้ผลิตเหล็กที่อยากให้มี AD นั้นมองว่า หากไม่มี AD อุตสาหกรรมในประเทศก็ไม่สามารถแข่งขันได้ถ้าเหล็กนำเข้าราคาถูกกว่าเกินไป ซึ่งในระยะยาวมีความเป็นไปได้ว่าผลกระทบจะส่งถึงผู้บริโภคด้วย เพราะเมื่อผู้ผลิตในประเทศหายไปจากตลาด ไทยจะสูญเสียอำนาจในการควบคุมราคาเนื่องจากต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าประเภทนั้นอย่างเดียว ดังนั้น เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าจะเกิดการทุ่มตลาดสินค้า ผู้ผลิตก็จะไปร้องขอให้กรมการค้าต่างประเทศไต่สวนเพื่อออกมาตรการมาช่วยป้องกัน แต่ทางด้านผู้นำเข้า-ผู้บริโภคกลับรู้สึกว่า AD เป็นการคุ้มครองผู้ผลิตมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่ยอมปรับตัวหรือพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิต สวนทางกับราคาที่สูง เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคต้องซื้อเหล็กแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรายการสินค้าที่ผู้ผลิตในประเทศมีน้อยราย เช่น รัฐออกมาตรการ AD สำหรับวัตถุดิบกลุ่มเหล็กรีดร้อนซึ่งจำเป็นต่องานเหล็กหลากหลายประเภท ขณะที่ในไทยมีผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) เพียง 3 รายเท่านั้น (2 รายมีเจ้าของเดียวกัน) และขีดความสามารถในการผลิตก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ แต่จะนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนก็ติดมาตรการ AD อีก นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่า อาจเกิดกรณีที่ผู้ผลิตร้องกับทางทตอ.ให้บังคับใช้ AD กับสินค้าคนละประเภทที่สามารถทดแทนสินค้าที่ตนผลิตได้เพราะกลัวเสียผลประโยชน์ส่วนตัว ผู้นำเข้า-ผู้บริโภคจึงคิดว่า การมี AD เป็นผลเสียที่ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศไม่พัฒนาให้มีความแข็งแรงสู้กับผู้ผลิตต่างชาติ …

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 2 Read More »

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 1

การทุ่มตลาดคืออะไร? แล้วทำไมต้องมีมาตรการป้องกัน? เวลาดูข่าวเศรษฐกิจในทีวี บางครั้งเราจะได้ยินคำว่า ราคาเหล็กปรับตัวขึ้นเป็นผลกระทบจากการทุ่มตลาด หรือจากภาษี AD ว่าแต่การทุ่มตลาดหรือภาษี AD คืออะไรล่ะ? วันนี้ 2 เอสจะมาเล่าให้ฟังค่ะ  ลองนึกภาพว่า ประเทศ A ส่งออกวัตถุดิบเหล็กมาไทยในราคาตันละ 25,000 บาท ทั้งที่ขายในประเทศตัวเอง 30,000 บาท ผู้ผลิตในไทยซึ่งก็ขายที่ตันละ 30,000 บาทเลยเดือดร้อนเพราะของนำเข้าราคาต่ำกว่ามาก การส่งสินค้าออกมาขายอีกประเทศหนึ่ง ด้วยราคาที่ต่ำผิดปกติแบบนี้ เพราะต้องการส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น เรียกว่า “การทุ่มตลาด” (Dumping) ภาพ: กรมการค้าต่างประเทศ หากมองในมุมของผู้นำเข้าหรือผู้บริโภคอาจจะรู้สึกว่า ดีสิ! ได้สินค้าเหมือนกันแต่จ่ายถูกกว่า แต่อีกมุมหนึ่งการทุ่มตลาดหรือการ Dump ราคาก็สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศหากสินค้าที่นำเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าที่ควร เพราะถือเป็นการกีดกันทางการค้า ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศถูกตัดราคาหรือกดราคา เมื่อผู้ผลิตในประเทศทำกำไรไม่ได้หรือขาดทุนนาน ๆ เข้าก็ต้องเลิกกิจการ เมื่อไร้ผู้ผลิตในประเทศมาคานอำนาจแล้ว คราวนี้ถ้าสินค้าจากต่างชาติส่งออกมาในราคาแพง ผู้บริโภคก็ไม่เหลือตัวเลือกอื่นอีก ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมภายในจากการนำเข้าสินค้าที่ไม่เป็นธรรม องค์การการค้าโลก (WTO) จึงอนุญาตให้ประเทศผู้นำเข้าซึ่งได้รับผลกระทบสามารถเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ภาษี AD” ได้ …

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 1 Read More »

Scroll to Top