สาระน่ารู้

ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และที่เกี่ยวข้อง

แก๊สปกคลุมการอาร์ก

แก๊สปกคลุมการอาร์ก

แก๊สปกคลุมแนวเชื่อมหรือแนวอาร์ก แต่ละชนิดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้รอยเชื่อมร้าว มีรูพรุนและเกิดรอยแตกใต้แนวเชื่อม ซึ่งสาเหตุหลักๆของรอยเชื่อมที่ไม่สวยจากแก๊สพวกนี้  ไนโตรเจน > ทำให้รอยเชื่อมแตกร้าว คุณสมบัติทางด้านความเหนียวและความแข็งลดลงออกซิเจน > ทำให้มีรูพรุนในแนวเชื่อมไฮโดรเจน > เกิดรอยแตกใต้แนวเชื่อม (เกิดจากความชื้นหรือไอน้ำรวมตัวกับเหล็ก) ส่วนแก๊สอาร์กอน แก๊สฮีเลียม และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแก๊สที่สำคัญและนิยมใช้ในขณะทำการเชื่อม แก๊สอาร์กอน (Argon: Ar)     เป็นแก๊สที่นิยมใช้กันมาก เพราะมีการนำความร้อนต่ำ เปลวอาร์กจะแคบแต่มีความเข้มสูง ทำให้ความร้อนได้รับพลังงานสูง ดังนั้นลักษณะของแนวเชื่อมจะแคบ แต่มีการซึมลึกสูง คุณสมบัติของแก๊สอาร์กอนมีดังนี้ มีความต่างศักย์ต่ำ ปฎิกิริยาที่ได้สะอาด เหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะที่ผิว เกิดออกไซต์ได้ง่าย เช่น อะลูมิเนียม โลหะผสมที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียมอยู่มาก การเริ่มต้นในการอาร์กทำได้ง่าย จึงเหมาะสมกับโลหะบางๆ การอาร์กคงที่มากกว่าใช้แก๊สฮีเลียม มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ จึงใช้แก๊สน้อยกว่าเปรียบเทียบกับแก๊สฮีเลียม สามารถควบคุมบ่อหลอมเหลวได้ดีกว่าโดยเฉพาะในการเชื่อมท่าตั้ง และท่าเหนือศีรษะในการเชื่อม แต่ถ้าโลหะมีความหนามากควรใช้แก๊สฮีเลียม แก๊สฮีเลียม (Helium: He)    เป็นแก๊สเฉื่อยที่มีน้ำหนักเบากว่าแก๊สอาร์กอน และนำความร้อนได้ดีกว่าแก๊สอาร์กอน เมื่อถูกความร้อน จะเกิดการขยายตัวแพร่ออก จึงทำให้ความเข้มของพลังงานอาร์กที่จะเจาะเข้าสู่เนื้อโลหะที่นำมาเชื่อมต่ำกว่าแก๊สอาร์กอน จึงทำให้แนวเชื่อมที่ได้กว้าง แต่มีการซึมลึกน้อย คุณสมบัติของแก๊สฮีเลียมมีดังนี้ มีความต่างศักย์สูง …

แก๊สปกคลุมการอาร์ก Read More »

น่ารู้เรื่องมาตรฐาน MiT

ทุกคนน่าจะคุ้นเคยดีกับ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หรือมอก. แต่รู้หรือไม่ว่า ไทยยังมี MiT หรือ Made in Thailand ด้วย MiT คือ มาตรฐานสินค้าที่ผลิตในไทย ออกให้โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการตอนปลายปี 63 ซึ่งหนึ่งคุณสมบัติของสินค้าที่ได้รับการรับรอง MIT คือ สินค้าต้องมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศอย่างน้อย 40% โดยตัวเลขนี้มาจากการคำนวณตามหลักการ ASEAN Content และปรับให้เข้ากับบริบทของไทย มาตรฐาน MiT มีขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในประเทศ หันมาสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในไทยมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นจากผู้ใช้งานทั้งในประเทศและคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งตามกฎกระทรวงการคลังได้กำหนดให้งานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐต้องใช้สินค้าที่มี MiT รับรองไม่น้อยกว่า 60% ของสินค้าทั้งหมด ในส่วนของเหล็ก ก็ต้องเป็นเหล็กที่ MiT รับรองไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าหรือปริมาณเหล็กทั้งหมดที่ใช้ในงานครั้งนั้น ทั้งนี้ บริษัท 2 เอส เมทัล จำกัด (มหาชน) เองก็มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MiT เช่นกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแรงสนับสนุนอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทยให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ

ทำไมเหล็กถึงเรียกเป็นหน่วย “หุน”?

หน่วยที่ใช้เรียกเหล็ก มีหลากหลายมาก ๆ ทั้งนิ้วไว้เรียกขนาดหน้าตัด มิลลิเมตรเรียกความหนา และเมตรเรียกความยาว ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่หน่วยหุนนี่มันยังไงกันนะ? “หุน” ซึ่งนิยมใช้ในวงการช่างและผู้รับเหมา เป็นหน่วยวัดความยาวหรือความหนาของวัตถุต่าง ๆ มีที่มาจากชื่อมาตราชั่ง-ตวง-วัดของจีนคือ ชุ่น (寸) โดย 1 ชุ่นเท่ากับ 1.312 นิ้ว เท่ากับ 10 เฟิน (分) หมายความว่า 1 เฟินมีค่าราว 0.132 นิ้ว เฟินในภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ฮุ้ง” และคำว่าฮุ้งนี่เองที่เป็นที่มาของ “หุน” ในบ้านเรา ด้วยความที่จีนโพ้นทะเลในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋วทำให้การเรียกหน่วยฮุ้งค่อย ๆ แพร่หลายมากขึ้น จนเพี้ยนมาเป็นสำเนียงไทย ๆ ว่า หุน นั่นเอง ปัจจุบันมีการปรับมาตรฐานใหม่ สมัยนี้ 1 ฮุ้งหรือหุนจึงมีค่าเท่ากับ 1/8 หรือ 0.125 นิ้ว หรือ 1 นิ้วเท่ากับ 8 หุน เวลาจะแปลงหุนเป็นนิ้ว เราก็สามารถเอาตัวเลขในหน่วยนหุนมาคูณด้วย 1/8 หรือ 0.125 …

ทำไมเหล็กถึงเรียกเป็นหน่วย “หุน”? Read More »

เหล็กบีมทั้งสามต่างกันอย่างไร?

เหล็กบีมจัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ตามมอก.1227-2558 มีหน้าตาที่คล้ายกันมาก ๆ แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การใช้งานก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องพิจารณาดี ๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะได้รู้ว่าเหล็กตัวไหนให้เหมาะสมกับชนิดงานนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยค่ะ เอชบีม (H-beam) หน้าตัดเป็นรูปตัว H ปีกหนาสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติในการรับแรงและน้ำหนักได้มาก มีหลายขนาดขายในท้องตลาด ทำให้นำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น โครงสร้างบ้าน เสาคาน โครงถักหรือทรัส (truss) ไวด์แฟลงจ์ (Wide-flange) จริง ๆ ก็คือเอชบีม ส่วนไวด์แฟลงจ์เป็นชื่อเรียกตามมาตรฐาน ASTM ของสหรัฐอเมริกา ในมอก.ไทยก็มีระบุแค่เอชบีม แต่คนบางส่วนจะเข้าใจว่า ไวด์แฟลงจ์มีความกว้างของแผ่นตรงกลางมากกว่าปีกทั้งสองข้าง เหมือนตัว H ที่เส้นตรงกลางยาวกว่าปีก  ไอบีม (I-beam) หน้าตัดเป็นรูปตัว I ความกว้างและความสูงแต่ละด้านไม่เท่ากัน มีความลาดเอียงและเรียวมนที่ปลาย ตรงโคนปีกจะหนา  ใช้ในงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น รางเครนยกของในโรงงาน งานเครื่องจักร  หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเหล็กบีมและความแตกต่างระหว่าง H-beam, Wide-flange, I-beam ได้มากขึ้นนะคะ  …

เหล็กบีมทั้งสามต่างกันอย่างไร? Read More »

How to ชะลอเหล็กเกิดสนิม

ไม่อยากให้เหล็กขึ้นสนิมเร็ว ต้องทำอย่างไร? เนื่องจาก สนิม (rust) เกิดจากเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำ ดังนั้น วิธีป้องกันการเกิดสนิม ข้อสำคัญ คือ พยายามอย่าให้เนื้อเหล็กโดนอากาศหรือความชื้นโดยตรง แบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ 1) การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน:          มีทั้งแบบเหล็กกัลวาไนซ์ (สังกะสี) และเหล็ก MAZ (ส่วนผสมระหว่างสังกะสี อลูมิเนียม และแมกนีเซียม) วิธีนี้นิยมใช้กับพวกท่อเหล็กและท่อประปา ช่วยให้เหล็กมีความทนทานต่อสนิมและการกัดกร่อนได้ดี การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot dip galvanizing) 2) การเคลือบด้วยสารป้องกันสนิม:           เช่น สีรองพื้นกันสนิม สีอีพ็อกซี สังกะสี หรือน้ำมัน แล้วแต่ความเหมาะสมของประเภทงาน ใช้ได้กับเหล็กโครงสร้างทั่ว ๆ ไป ขัดสนิมออกด้วยกระดาษทราย ทาสีรองพื้นกันสนิม ช่วงไหนที่ฝนตก น้ำท่วม ถ้าเหล็กโดนแช่น้ำไปแล้วจะทำอย่างไรดี? …

How to ชะลอเหล็กเกิดสนิม Read More »

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 2

การเก็บภาษี AD ดีจริงหรือ? มุมมองที่แตกต่างระหว่างผู้ผลิตในไทยและผู้บริโภค ในตอนที่ 1 เราอธิบายกันไปแล้วนะคะว่า การทุ่มตลาดคืออะไร และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศอย่างไร แต่การเก็บภาษี AD นั้นดีจริงหรือ? เพราะฝั่งผู้ผลิตภายในประเทศไทยกับฝั่งผู้นำเข้า-ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน ฝ่ายผู้ผลิตเหล็กที่อยากให้มี AD นั้นมองว่า หากไม่มี AD อุตสาหกรรมในประเทศก็ไม่สามารถแข่งขันได้ถ้าเหล็กนำเข้าราคาถูกกว่าเกินไป ซึ่งในระยะยาวมีความเป็นไปได้ว่าผลกระทบจะส่งถึงผู้บริโภคด้วย เพราะเมื่อผู้ผลิตในประเทศหายไปจากตลาด ไทยจะสูญเสียอำนาจในการควบคุมราคาเนื่องจากต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าประเภทนั้นอย่างเดียว ดังนั้น เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าจะเกิดการทุ่มตลาดสินค้า ผู้ผลิตก็จะไปร้องขอให้กรมการค้าต่างประเทศไต่สวนเพื่อออกมาตรการมาช่วยป้องกัน แต่ทางด้านผู้นำเข้า-ผู้บริโภคกลับรู้สึกว่า AD เป็นการคุ้มครองผู้ผลิตมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่ยอมปรับตัวหรือพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิต สวนทางกับราคาที่สูง เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคต้องซื้อเหล็กแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรายการสินค้าที่ผู้ผลิตในประเทศมีน้อยราย เช่น รัฐออกมาตรการ AD สำหรับวัตถุดิบกลุ่มเหล็กรีดร้อนซึ่งจำเป็นต่องานเหล็กหลากหลายประเภท ขณะที่ในไทยมีผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) เพียง 3 รายเท่านั้น (2 รายมีเจ้าของเดียวกัน) และขีดความสามารถในการผลิตก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ แต่จะนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนก็ติดมาตรการ AD อีก นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่า อาจเกิดกรณีที่ผู้ผลิตร้องกับทางทตอ.ให้บังคับใช้ AD กับสินค้าคนละประเภทที่สามารถทดแทนสินค้าที่ตนผลิตได้เพราะกลัวเสียผลประโยชน์ส่วนตัว ผู้นำเข้า-ผู้บริโภคจึงคิดว่า การมี AD เป็นผลเสียที่ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศไม่พัฒนาให้มีความแข็งแรงสู้กับผู้ผลิตต่างชาติ …

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 2 Read More »

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 1

การทุ่มตลาดคืออะไร? แล้วทำไมต้องมีมาตรการป้องกัน? เวลาดูข่าวเศรษฐกิจในทีวี บางครั้งเราจะได้ยินคำว่า ราคาเหล็กปรับตัวขึ้นเป็นผลกระทบจากการทุ่มตลาด หรือจากภาษี AD ว่าแต่การทุ่มตลาดหรือภาษี AD คืออะไรล่ะ? วันนี้ 2 เอสจะมาเล่าให้ฟังค่ะ  ลองนึกภาพว่า ประเทศ A ส่งออกวัตถุดิบเหล็กมาไทยในราคาตันละ 25,000 บาท ทั้งที่ขายในประเทศตัวเอง 30,000 บาท ผู้ผลิตในไทยซึ่งก็ขายที่ตันละ 30,000 บาทเลยเดือดร้อนเพราะของนำเข้าราคาต่ำกว่ามาก การส่งสินค้าออกมาขายอีกประเทศหนึ่ง ด้วยราคาที่ต่ำผิดปกติแบบนี้ เพราะต้องการส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น เรียกว่า “การทุ่มตลาด” (Dumping) ภาพ: กรมการค้าต่างประเทศ หากมองในมุมของผู้นำเข้าหรือผู้บริโภคอาจจะรู้สึกว่า ดีสิ! ได้สินค้าเหมือนกันแต่จ่ายถูกกว่า แต่อีกมุมหนึ่งการทุ่มตลาดหรือการ Dump ราคาก็สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศหากสินค้าที่นำเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าที่ควร เพราะถือเป็นการกีดกันทางการค้า ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศถูกตัดราคาหรือกดราคา เมื่อผู้ผลิตในประเทศทำกำไรไม่ได้หรือขาดทุนนาน ๆ เข้าก็ต้องเลิกกิจการ เมื่อไร้ผู้ผลิตในประเทศมาคานอำนาจแล้ว คราวนี้ถ้าสินค้าจากต่างชาติส่งออกมาในราคาแพง ผู้บริโภคก็ไม่เหลือตัวเลือกอื่นอีก ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมภายในจากการนำเข้าสินค้าที่ไม่เป็นธรรม องค์การการค้าโลก (WTO) จึงอนุญาตให้ประเทศผู้นำเข้าซึ่งได้รับผลกระทบสามารถเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ภาษี AD” ได้ …

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 1 Read More »

เหล็กท่อแบน คืออะไร?

2s ให้ความรู้ ตอน ‘เหล็กท่อแบน’   วันนี้ 2S พามาทำความรู้จักกับ ‘เหล็กท่อแบน’ (Rectangular Pipe) มีลักษณะเป็นท่อเหล็กหน้าตัด สี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ มีมุมฉาก คุณสมบัติ แข็งแรง ทนทาน ดัดแปลงได้ น้ำหนักเบา  ทำให้งานก่อสร้างมีโครงสร้างที่เบากว่า มีช่วงกว้างกว่า การนำไปใช้ เหล็กท่อแบนมักนำไปใช้งานก่อสร้างที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก เช่น นั่งร้าน ประตู ทำเสา ออฟฟิศ โรงจอดรถ อาคารพาณิชย์ ก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารทั่วไป และนำไปใช้แทนไม้หรือคอนกรีต

เหล็กตัวซี คืออะไร?

2s ให้ความรู้ ตอน ‘เหล็กตัวซี’ วันนี้ 2S พามาทำความรู้จักกับ ‘เหล็กตัวซี’ (C Light Lip Channel) เป็นเหล็กรูปพรรณที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัวซี มีความยาวมาตรฐาน 6 เมตร คุณสมบัติ มีความคงทนมาก น้ำหนักเบา ขึ้นโครงง่าย การนำไปใช้ เหล็กตัวซีเหมาะสำหรับงานโครงสร้างทั่วไปที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น งานทำโครงหลังคา เสาค้ำยัน และโครงสร้างที่อยู่อาศัย

เหล็กไวร์เมช คืออะไร?

2s ให้ความรู้ ตอน ‘เหล็กไวร์เมช’ วันนี้ 2S พามาทำความรู้จักกับ ‘เหล็กไวร์เมช’ (Wire Mesh) หรือลวดตะแกรงเหล็ก เป็นตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดกัน ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น ทอติดกันเป็นผืน เพื่อเสริมกำลังคอนกรีต คุณสมบัติ สามารถรับแรงกระแทก แรงกดทับได้ดี ตะแกรงมีความสม่ำเสมอของช่องตาราง ประหยัดเวลาในการทำงานกว่าการผูกเหล็ก การนำไปใช้ เหล็กไวร์เมชมีหลายขนาดตามการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3.6 มม. ตารางตั้งแต่ 10*10 ซม. – 30*30 ซม. มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคาร ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตารางตั้งแต่ 10*10 ซม. – 30*30 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. ใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้ ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. …

เหล็กไวร์เมช คืออะไร? Read More »

Scroll to Top