sawanrat

น่ารู้เรื่องมาตรฐาน MiT

ทุกคนน่าจะคุ้นเคยดีกับ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หรือมอก. แต่รู้หรือไม่ว่า ไทยยังมี MiT หรือ Made in Thailand ด้วย MiT คือ มาตรฐานสินค้าที่ผลิตในไทย ออกให้โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการตอนปลายปี 63 ซึ่งหนึ่งคุณสมบัติของสินค้าที่ได้รับการรับรอง MIT คือ สินค้าต้องมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศอย่างน้อย 40% โดยตัวเลขนี้มาจากการคำนวณตามหลักการ ASEAN Content และปรับให้เข้ากับบริบทของไทย มาตรฐาน MiT มีขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในประเทศ หันมาสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในไทยมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นจากผู้ใช้งานทั้งในประเทศและคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งตามกฎกระทรวงการคลังได้กำหนดให้งานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐต้องใช้สินค้าที่มี MiT รับรองไม่น้อยกว่า 60% ของสินค้าทั้งหมด ในส่วนของเหล็ก ก็ต้องเป็นเหล็กที่ MiT รับรองไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าหรือปริมาณเหล็กทั้งหมดที่ใช้ในงานครั้งนั้น ทั้งนี้ บริษัท 2 เอส เมทัล จำกัด (มหาชน) เองก็มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MiT เช่นกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแรงสนับสนุนอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทยให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ

ทำไมเหล็กถึงเรียกเป็นหน่วย “หุน”?

หน่วยที่ใช้เรียกเหล็ก มีหลากหลายมาก ๆ ทั้งนิ้วไว้เรียกขนาดหน้าตัด มิลลิเมตรเรียกความหนา และเมตรเรียกความยาว ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่หน่วยหุนนี่มันยังไงกันนะ? “หุน” ซึ่งนิยมใช้ในวงการช่างและผู้รับเหมา เป็นหน่วยวัดความยาวหรือความหนาของวัตถุต่าง ๆ มีที่มาจากชื่อมาตราชั่ง-ตวง-วัดของจีนคือ ชุ่น (寸) โดย 1 ชุ่นเท่ากับ 1.312 นิ้ว เท่ากับ 10 เฟิน (分) หมายความว่า 1 เฟินมีค่าราว 0.132 นิ้ว เฟินในภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ฮุ้ง” และคำว่าฮุ้งนี่เองที่เป็นที่มาของ “หุน” ในบ้านเรา ด้วยความที่จีนโพ้นทะเลในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋วทำให้การเรียกหน่วยฮุ้งค่อย ๆ แพร่หลายมากขึ้น จนเพี้ยนมาเป็นสำเนียงไทย ๆ ว่า หุน นั่นเอง ปัจจุบันมีการปรับมาตรฐานใหม่ สมัยนี้ 1 ฮุ้งหรือหุนจึงมีค่าเท่ากับ 1/8 หรือ 0.125 นิ้ว หรือ 1 นิ้วเท่ากับ 8 หุน เวลาจะแปลงหุนเป็นนิ้ว เราก็สามารถเอาตัวเลขในหน่วยนหุนมาคูณด้วย 1/8 หรือ 0.125 …

ทำไมเหล็กถึงเรียกเป็นหน่วย “หุน”? Read More »

เหล็กบีมทั้งสามต่างกันอย่างไร?

เหล็กบีมจัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ตามมอก.1227-2558 มีหน้าตาที่คล้ายกันมาก ๆ แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การใช้งานก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องพิจารณาดี ๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะได้รู้ว่าเหล็กตัวไหนให้เหมาะสมกับชนิดงานนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยค่ะ เอชบีม (H-beam) หน้าตัดเป็นรูปตัว H ปีกหนาสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติในการรับแรงและน้ำหนักได้มาก มีหลายขนาดขายในท้องตลาด ทำให้นำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น โครงสร้างบ้าน เสาคาน โครงถักหรือทรัส (truss) ไวด์แฟลงจ์ (Wide-flange) จริง ๆ ก็คือเอชบีม ส่วนไวด์แฟลงจ์เป็นชื่อเรียกตามมาตรฐาน ASTM ของสหรัฐอเมริกา ในมอก.ไทยก็มีระบุแค่เอชบีม แต่คนบางส่วนจะเข้าใจว่า ไวด์แฟลงจ์มีความกว้างของแผ่นตรงกลางมากกว่าปีกทั้งสองข้าง เหมือนตัว H ที่เส้นตรงกลางยาวกว่าปีก  ไอบีม (I-beam) หน้าตัดเป็นรูปตัว I ความกว้างและความสูงแต่ละด้านไม่เท่ากัน มีความลาดเอียงและเรียวมนที่ปลาย ตรงโคนปีกจะหนา  ใช้ในงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น รางเครนยกของในโรงงาน งานเครื่องจักร  หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเหล็กบีมและความแตกต่างระหว่าง H-beam, Wide-flange, I-beam ได้มากขึ้นนะคะ  …

เหล็กบีมทั้งสามต่างกันอย่างไร? Read More »

How to ชะลอเหล็กเกิดสนิม

ไม่อยากให้เหล็กขึ้นสนิมเร็ว ต้องทำอย่างไร? เนื่องจาก สนิม (rust) เกิดจากเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำ ดังนั้น วิธีป้องกันการเกิดสนิม ข้อสำคัญ คือ พยายามอย่าให้เนื้อเหล็กโดนอากาศหรือความชื้นโดยตรง แบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ 1) การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน:          มีทั้งแบบเหล็กกัลวาไนซ์ (สังกะสี) และเหล็ก MAZ (ส่วนผสมระหว่างสังกะสี อลูมิเนียม และแมกนีเซียม) วิธีนี้นิยมใช้กับพวกท่อเหล็กและท่อประปา ช่วยให้เหล็กมีความทนทานต่อสนิมและการกัดกร่อนได้ดี การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot dip galvanizing) 2) การเคลือบด้วยสารป้องกันสนิม:           เช่น สีรองพื้นกันสนิม สีอีพ็อกซี สังกะสี หรือน้ำมัน แล้วแต่ความเหมาะสมของประเภทงาน ใช้ได้กับเหล็กโครงสร้างทั่ว ๆ ไป ขัดสนิมออกด้วยกระดาษทราย ทาสีรองพื้นกันสนิม ช่วงไหนที่ฝนตก น้ำท่วม ถ้าเหล็กโดนแช่น้ำไปแล้วจะทำอย่างไรดี? …

How to ชะลอเหล็กเกิดสนิม Read More »

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 2

การเก็บภาษี AD ดีจริงหรือ? มุมมองที่แตกต่างระหว่างผู้ผลิตในไทยและผู้บริโภค ในตอนที่ 1 เราอธิบายกันไปแล้วนะคะว่า การทุ่มตลาดคืออะไร และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศอย่างไร แต่การเก็บภาษี AD นั้นดีจริงหรือ? เพราะฝั่งผู้ผลิตภายในประเทศไทยกับฝั่งผู้นำเข้า-ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน ฝ่ายผู้ผลิตเหล็กที่อยากให้มี AD นั้นมองว่า หากไม่มี AD อุตสาหกรรมในประเทศก็ไม่สามารถแข่งขันได้ถ้าเหล็กนำเข้าราคาถูกกว่าเกินไป ซึ่งในระยะยาวมีความเป็นไปได้ว่าผลกระทบจะส่งถึงผู้บริโภคด้วย เพราะเมื่อผู้ผลิตในประเทศหายไปจากตลาด ไทยจะสูญเสียอำนาจในการควบคุมราคาเนื่องจากต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าประเภทนั้นอย่างเดียว ดังนั้น เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าจะเกิดการทุ่มตลาดสินค้า ผู้ผลิตก็จะไปร้องขอให้กรมการค้าต่างประเทศไต่สวนเพื่อออกมาตรการมาช่วยป้องกัน แต่ทางด้านผู้นำเข้า-ผู้บริโภคกลับรู้สึกว่า AD เป็นการคุ้มครองผู้ผลิตมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่ยอมปรับตัวหรือพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิต สวนทางกับราคาที่สูง เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคต้องซื้อเหล็กแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรายการสินค้าที่ผู้ผลิตในประเทศมีน้อยราย เช่น รัฐออกมาตรการ AD สำหรับวัตถุดิบกลุ่มเหล็กรีดร้อนซึ่งจำเป็นต่องานเหล็กหลากหลายประเภท ขณะที่ในไทยมีผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) เพียง 3 รายเท่านั้น (2 รายมีเจ้าของเดียวกัน) และขีดความสามารถในการผลิตก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ แต่จะนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนก็ติดมาตรการ AD อีก นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่า อาจเกิดกรณีที่ผู้ผลิตร้องกับทางทตอ.ให้บังคับใช้ AD กับสินค้าคนละประเภทที่สามารถทดแทนสินค้าที่ตนผลิตได้เพราะกลัวเสียผลประโยชน์ส่วนตัว ผู้นำเข้า-ผู้บริโภคจึงคิดว่า การมี AD เป็นผลเสียที่ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศไม่พัฒนาให้มีความแข็งแรงสู้กับผู้ผลิตต่างชาติ …

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 2 Read More »

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 1

การทุ่มตลาดคืออะไร? แล้วทำไมต้องมีมาตรการป้องกัน? เวลาดูข่าวเศรษฐกิจในทีวี บางครั้งเราจะได้ยินคำว่า ราคาเหล็กปรับตัวขึ้นเป็นผลกระทบจากการทุ่มตลาด หรือจากภาษี AD ว่าแต่การทุ่มตลาดหรือภาษี AD คืออะไรล่ะ? วันนี้ 2 เอสจะมาเล่าให้ฟังค่ะ  ลองนึกภาพว่า ประเทศ A ส่งออกวัตถุดิบเหล็กมาไทยในราคาตันละ 25,000 บาท ทั้งที่ขายในประเทศตัวเอง 30,000 บาท ผู้ผลิตในไทยซึ่งก็ขายที่ตันละ 30,000 บาทเลยเดือดร้อนเพราะของนำเข้าราคาต่ำกว่ามาก การส่งสินค้าออกมาขายอีกประเทศหนึ่ง ด้วยราคาที่ต่ำผิดปกติแบบนี้ เพราะต้องการส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น เรียกว่า “การทุ่มตลาด” (Dumping) ภาพ: กรมการค้าต่างประเทศ หากมองในมุมของผู้นำเข้าหรือผู้บริโภคอาจจะรู้สึกว่า ดีสิ! ได้สินค้าเหมือนกันแต่จ่ายถูกกว่า แต่อีกมุมหนึ่งการทุ่มตลาดหรือการ Dump ราคาก็สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศหากสินค้าที่นำเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าที่ควร เพราะถือเป็นการกีดกันทางการค้า ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศถูกตัดราคาหรือกดราคา เมื่อผู้ผลิตในประเทศทำกำไรไม่ได้หรือขาดทุนนาน ๆ เข้าก็ต้องเลิกกิจการ เมื่อไร้ผู้ผลิตในประเทศมาคานอำนาจแล้ว คราวนี้ถ้าสินค้าจากต่างชาติส่งออกมาในราคาแพง ผู้บริโภคก็ไม่เหลือตัวเลือกอื่นอีก ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมภายในจากการนำเข้าสินค้าที่ไม่เป็นธรรม องค์การการค้าโลก (WTO) จึงอนุญาตให้ประเทศผู้นำเข้าซึ่งได้รับผลกระทบสามารถเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ภาษี AD” ได้ …

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตอนที่ 1 Read More »

Scroll to Top